ร้านแว่น โดยหมอสายตา ที่เชี่ยวชาญด้านเลนส์โปรเกรสซีฟ
  • หน้าแรก
  • บริการ
  • ลูกค้าที่มาใช้บริการ
  • บทความ
  • ติดต่อเรา
August 14, 2023 by admin

เราควรใช้น้ำตาเทียมแบบไหนดี

เราควรใช้น้ำตาเทียมแบบไหนดี
August 14, 2023 by admin
ตาแห้ง หมอให้หยอดน้ำตาเทียม แต่มีคำถามว่า
1. เราควรใช้น้ำตาเทียมแบบไหนดี?
2. แล้วถ้าหยอดไปนานๆจะทำให้ร่างกายหยุดผลิตน้ำตาไปเลยจริงไหม?
ใครที่กำลังสงสัยอยู่ก็ลองมาหาคำตอบในบทความนี้กันเลยนะคะ
เนื่องจากน้ำตาเทียมที่มีจำหน่ายกันในท้องตลาด ณ ปัจจุบัน มีอยู่มากมายเหลือเกินค่ะ ซึ่งไม่แปลก ที่จะมีคำถามเหล่านี้เกิดขึ้น และผู้ที่สงสัยส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่ในกลุ่มคนที่เพิ่งรู้ว่าตัวเองตาแห้งนั่นเองค่ะ
 
ดังนั้นอุ้มจะขอแยกกลุ่มของนำ้ตาเทียม ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ
314139157_432073065747714_2047780658292331290_n

(1) น้ำตาเทียมชนิดที่มีสารกันเสีย (tears with preservatives)

– น้ำตาเทียมชนิดนี้ มักบรรจุในภาชนะแบบขวด ขนาด 10-15 มิลลิลิตร
– หลังเปิดขวดสามารถเก็บได้นานประมาณ 1 เดือน
– เหมาะกับผู้ที่ตาแห้งน้อยๆ หรือหยอดในช่วงสั้นๆ เท่านั้น
 
ข้อดี : ราคาไม่แพง
ข้อเสีย : เนื่องจากน้ำตาเทียมชนิดนี้มีสารกันเสียอยู่ หากหยอดบ่อยเกิน 4 ครั้ง/วัน จะทำให้เกิดอันตรายต่อผิวกระจกตา หรือในผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ หากหยอดบ่อย สารกันเสียนี้ก็จะสะสมในเนื้อคอนแทคเลนส์ได้ด้วยค่ะ
(2) น้ำตาเทียมชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย(tear without preservatives)

– น้ำตาเทียมชนิดนี้ จะมีลักษณะเป็นหลอดพลาสติกเล็กๆ บรรจุน้ำตาเทียมในปริมาณน้อย ไม่เกิน1มิลลิลิตร
ข้อดี : เป็นชนิดที่คุณหมอ เภสัชกรและนักทัศนมาตรแนะนำให้ใช้
– ไม่มีสารกันเสีย พกพาสะดวก ใช้เยอะหรือหยอดบ่อยก็ไม่มีผลข้างเคียงใดๆค่ะ
– เหมาะกับผู้ที่ตาแห้งมาก ใช้สายตาระยะใกล้นานๆต้องหยอดน้ำตาเทียมถี่ทุกชั่วโมงหรือเหมาะกับผู้ที่มีโรคของกระจกตา เยื่อบุตา หรือใช้ในผู้ที่เพิ่งผ่าตัดด้านดวงตามา เป็นต้น
ข้อเสีย : ราคาสูง,1หลอดมีอายุการใช้งานน้อย
 

หมายเหตุ :

– เนื่องจากไม่มีสารกันเสียอยู่ ดังนั้นโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคก็มีมากขึ้น ฉะนั้นจึงแนะนำว่า ควรใช้ให้หมดภายใน24ชั่วโมง
– น้ำตาเทียมรายวันบางยี่ห้อใช้ได้เพียง12ชั่วโมงหลังเปิดหลอด ดังนั้น ควรสอบถามคุณหมอ เภสัชกร หรือนักทัศนมาตรให้มั่นใจอีกครั้งก่อนซื้อนะคะ

และอีกคำถามที่ว่า “แล้วถ้าหยอดน้ำตาเทียมไปนานๆล่ะ จะทำให้น้ำตาหยุดผลิตไปเลยจริงหรือไม่” ขอตอบว่า

” ไม่จริงค่ะ “

เพราะการผลิตน้ำตาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งการหยอดน้ำตาเทียมนั้นเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาปลายเหตุ ที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างน้ำตาตามธรรมชาติตั้งแต่แรกแล้วเท่านั้นค่ะ

Credit บทความโดย : Dr. Mareena (โอดีอุ้ม), Doctor of Optometry

สำหรับใครที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ก็สามารถสอบถามกันเข้ามาทางช่องทางต่างๆ ได้ดังนี้

สอบถามเพิ่มเติม หรือนัดวัน-เวลาเข้าตรวจ ได้ที่
Phone: 087-391-2551, 082-732-9895, 061-3582211

Facebook : แว่นโดยหมอสายตา ดู แล ตา by Doctor of Optometry

หรือ link : https://www.facebook.com/DooLaeTa 

IG : Doolaeta_official
Line : Doolaeta หรือ คลิก https://line.me/ti/p/8WZy-Mt2px
อ่านทั้งหมด : 657
Previous articleทำไมมองผ่านรูเล็กๆ แล้วช่วยให้มองเห็นดีขึ้นมองผ่านรูNext article การดูแลดวงตาของเราให้แข็งแรงและสดใสการดูแลสายตา

แว่นโดนหมอสายตา ดู แล ตา

บริการแก่ผู้ที่มีปัญหาด้านสายตาโดยหมอสายตานักทัศนมาตร เกียรตินิยมอันดับ1

โพสต์ล่าสุด

ความผิดปกติของต่อมไขมันที่เปลือกตา “ที่ไม่ควรมองข้าม”May 24, 2025
ว่าด้วยเรื่องของอาการ ไขมันสะสมบริเวณผิวหนังรอบดวงตา(Xanthelasma)February 27, 2025
ใคร “สายตายาว” ยกมือขึ้นFebruary 11, 2025

Tags

ตาแห้ง น้ำตาเทียม สายตายาว สายตาสั้น โรคทางสายตา
ดูแลตา

ทำไมต้องร้าน ดู แล ตา

ร้าน ดู แล ตา คือร้านแว่นสายตาที่มีหมอสายตาควบคุมและดูแลทุกขั้นตอนทั้งการตรวจสายตาพร้อมทั้งให้คำปรึกษา ทำให้มั่นใจได้ว่าปัญหาด้านสายตาของคุณจะถูกแก้ไขอย่างถูกจุด

ติดต่อเรา

บ้านเลขที่ 61/90 หมู่ 6 ถนนกาญจนาภิเษก ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 11140
0827329895
0873912551
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08:00 - 18:00

บทความล่าสุดจากหมอ

ความผิดปกติของต่อมไขมันที่เปลือกตา “ที่ไม่ควรมองข้าม”May 24, 2025
ว่าด้วยเรื่องของอาการ ไขมันสะสมบริเวณผิวหนังรอบดวงตา(Xanthelasma)February 27, 2025
ใคร “สายตายาว” ยกมือขึ้นFebruary 11, 2025
Rife Wordpress Theme. Proudly Built By Apollo13

About This Sidebar

You can quickly hide this sidebar by removing widgets from the Hidden Sidebar Settings.

Recent Posts

ความผิดปกติของต่อมไขมันที่เปลือกตา “ที่ไม่ควรมองข้าม”May 24, 2025
ว่าด้วยเรื่องของอาการ ไขมันสะสมบริเวณผิวหนังรอบดวงตา(Xanthelasma)February 27, 2025
ใคร “สายตายาว” ยกมือขึ้นFebruary 11, 2025

Categories

  • Post

Meta

  • Log in
  • Entries feed
  • Comments feed
  • WordPress.org